วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

link คู่มือ ,การใช้งาน Ubutu

link คู่มือ ,การใช้งาน Ubutu
สวัสดีจ้า.. ทุกๆท่านที่หลงเข้ามาในวังวนแห่งการเรียนรู้แห่งนี้ คริคริ เมื่อหลงเข้ามาแล้วก็จงสูบความรู้ไปเยอะๆแล้วกันนะจ๊ะ งานนี้ไม่มีกั้กแน่นอนจ้า....(โอ้โหดูมีความรู้นะเนี้ยเรา ว้าว!!!!!)เข้าเรื่องกันเลยดีกว่าเนอะ!!!ในยุคสมัยนี้ ถ้าใครไม่รู้จักคำว่าลิขสิทธิ์ หรือสิทธิบัตร เนี้ย!คงจะเป็นคนที่ตกเทรนอย่างแน่นอน ก็เพราะว่าไอ้สองคำนี้แหละ ที่ทำให้พวกเรากินไม่ได้ นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิในการเรียน จนต้องหนีไปเที่ยวพับO^O (อันหลัง มันเกี่ยวกันตรงไหนนิ คริคริ) เพราะไม่รู้ว่าจะมาจะเอ้เมื่อไหร่ (หลบๆซ้อนๆอย่างคนมีความผิดสุดๆๆ) แต่ในวิกฤตลิขสิทธิ์ฟีเวอร์นิ ก้อทำให้เราค้นพบกับขุมทรัพย์ล้ำค่ามหาศาล ยิ่งกว่าเพชรมูลค่าพันล้าน ทองหนักสิบโล เกลือหนึ่งกระสอบ และ บลาๆๆๆๆๆ (เวอร์ไปปะ) นี้เราไม่ได้เวอร์นะ เราพูดจริง เพราะเจ้าตัวนิแหละ ทำให้เราลืมตาอ้าปากได้ แบกคอมไปไหนมาไหนได้อย่างสบายใจโจ้ สิ่งที่เราพูดถึงอยู่นิคือ เตนๆๆๆๆๆๆเต้น "ระบบปฏิบัติการ UBUTU " นั้นเอง หลายคนอาจจะร้องอ้อ นึกว่าอะไร แล้วบอกว่า "นิเธอ มันมีมานานแล้ว" (แต่เขาพึ่งรู้นิ ฮาๆๆๆ) และก็คงมีอีกหลายคนเช่นกันที่ คงมีเครื่องหมาย ? ประดุจรอยตีนการที่ประดับบนไปหน้า (คริคริ แอบกัด) แล้วพูดว่า " มันคืออารายหว่า " วันนี้ สายชลเลยรวมเอาลิงค์ข้อมูลเกี่ยวกับ ubutu มาฝากให้ได้อ่านกันจร้า

งานที่ 3 กฎหมายลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร (สั่งวันที่ 12 พ.ย 2552) ลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property) ซึ่งหมายถึงสิทธิทางกฎหมายที่มีอยู่เหนือผลิตผลจาก ความคิดทางปัญญาของบุคคล มีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงโดยตลอดควบคู่ไปกับการเปลี่ยนของพัฒนาการ ของเทคโนโลยีเหตุผลสำคัญของการที่รัฐคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ก็เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ โดยใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องมือส่งเสริมการประดิษฐ์คิดค้น และส่งเสริมการจัดระเบียบการแข่งขันใน ตลาดการค้าผลงานทางปัญญาใดจะได้รับการคุ้มครองย่อมขึ้นอยู่กับคุณค่าของผลงานนั้นเป็นสำคัญ ซึ่งก็ หมายความว่า ผู้ที่พัฒนาหรือสร้างสรรค์งานไม่อาจอ้างสิทธิทางกฎหมายในผลงานทางปัญญาของตนได้ในทุก กรณี สิ่งที่จะได้รับการคุ้มครองจะต้องมีคุณสมบัติต้องตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ผลงานทางปัญญาที่ขาด คุณสมบัติจะไม่ตกเป็นสิทธิของผู้สร้างสรรค์ หากแต่เป็นความรู้สาธารณะ (knowledge in the public domain) ที่บุคคลใดๆ อาจนำไปใช้ได้โดยไม่ถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย หรือเป็นการผิดต่อศีลธรรม กฎหมาย ไม่คุ้มครองผลงานที่ขาดคุณสมบัติ ทั้งนี้โดยไม่คำนึงว่าผู้สร้างสรรค์ได้ลงทุนหรือลงแรงไปกับผลงานนั้นมาก น้อยเพียงใดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอาจจำแนกออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ สิทธิในทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (industrial property rights) และลิขสิทธิ์ (copyright)

ความแตกต่างระหว่างสิทธิบัตรกับลิขสิทธิ์
กฎหมายสิทธิบัตรให้การคุ้มครองเทคโนโลยีการประดิษฐ์ แต่กฎหมายของประเทศกำลังพัฒนาบาง ประเทศ รวมทั้งกฎหมายไทย มิได้คุ้มครองเฉพาะการประดิษฐ์เท่านั้น หากแต่คุ้มครองการออกแบบทาง อุตสาหกรรม (industrial designs) ภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรด้วย ซึ่งการคุ้มครองในลักษณะนี้แตกต่างกับ กฎหมายของบรรดาประเทศอุตสาหกรรม ที่แยกการคุ้มครองการออกแบบทางอุตสาหกรรมไปไว้ภายใต้ กฎหมายอีกระบบหนึ่งในขณะที่กฎหมายสิทธิบัตรคุ้มครองความคิด (idea) ที่อยู่ภายใต้การประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ กฎหมายลิขสิทธิ์ให้การคุ้มครองสำหรับการแสดงออกซึ่งความคิด (expression of idea) โดยมิได้คุ้มครองตัวความคิดโดยตรง ลิขสิทธิ์จะมีอยู่ในงานประเภทที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น เช่น งานวรรณกรรมนาฎกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯสิทธิบัตรจะให้สิทธิที่จะกีดกันบุคคลอื่นมิให้ใช้ประโยชน์จากการประดิษฐ์ หรือแบบผลิตภัณฑ์ตาม สิทธิบัตร ซึ่งเท่ากับว่าผู้ทรงสิทธิเป็นผู้มีสิทธิผูกขาดโดยสมบูรณ์ (absolute monopoly right) ที่ปกป้องผู้ทรง สิทธิจากการแข่งขันของบุคคลอื่น ทั้งนี้โดยไม่คำนึงว่าผู้กระทำละเมิดมีเจตนาที่จะลอกเลียนการประดิษฐ์ตาม สิทธิบัตรหรือไม่ ตัวอย่างเช่น นาย ก. ได้ขอรับสิทธิบัตรในการประดิษฐ์อันหนึ่งไว้ ต่อมา นาย ข. ได้คิดค้น การประดิษฐ์แบบเดียวกันได้ โดยนาย ข. ได้คิดค้นการประดิษฐ์นั้นด้วยตนเอง เช่นนี้ นาย ข. อาจถูกนาย ก. ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรห้ามมิให้ใช้ประโยชน์จากการประดิษฐ์ของตนได้ ถึงแม้ว่านาย ข. จะไม่ได้ลอกเลียนการ ประดิษฐ์ของนาย ก. ก็ตามสิทธิตามสิทธิบัตรจะเกิดขึ้นเมื่อมีการขอรับสิทธิจากรัฐ โดยต้องมีการทำเอกสารคำขอตามแบบที่กฎหมายกำหนด และเจ้าหน้าที่ของรัฐจะทำการตรวจสอบคำขอและคุณสมบัติการประดิษฐ์ว่ามีความถูกต้องครบถ้วน จึงจะออกสิทธิบัตรให้ ส่วนผู้สร้างสรรค์งานประเภทที่กฎหมายกำหนดไว้ จะได้ไปซึ่งลิขสิทธิ์ในงานนั้นโดยทันที โดยผู้สร้างสรรค์ไม่จำต้องนำงานไปจดทะเบียนหรือขอรับความคุ้มครองจากรัฐ ทั้งนี้เป็นไปตามหลักการของอนุสัญญากรุงเบอร์นว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม (Berne Convention for theProtection of Literary and Artistic Works) ที่ห้ามการกำหนดเงื่อนไขของการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดๆ1
งานที่ 3 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร (สั่งวันที่ 12 พ.ย 2552) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร
ลิขสิทธิ์คืออะไร?
ลิขสิทธิ์คือการคุ้มครองทางกฎหมายที่ให้แก่การผลิตผลงานต้นฉบับในสหรัฐอเมริกา ลิขสิทธิ์คุ้มครองหนังสือ ภาพวาด รูปถ่าย ดนตรี วีดีโอ ซอฟต์แวร์ และอื่นๆ ลิขสิทธิ์จะอยู่ติดกับผลงานตั้งแต่ผลงานนั้นอยู่ในรูปที่จับต้องได้ (บนกระดาษ วีดีโอ และอื่น ๆ) และป้องกันคนอื่นเอาไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตลิขสิทธิ์เป็นสิทธิต่าง ๆ ที่อยู่ด้วยกันลิขสิทธิ์เป็นสิทธิต่าง ๆ ที่อยู่ด้วยกัน รวมไปถึงสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการจัดจำหน่าย ขาย ทำซ้ำ แสดงในที่สาธารณะและสร้างผลงานที่พัฒนามาจากผลงานเดิม ลิขสิทธิ์สำหรับผลงานใหม่มีระยะเวลา 70 ปี ขึ้นอยู่กับว่าคนทำเป็นบุคคลหรือบริษัท ระยะเวลาของลิขสิทธิ์ของผลงานเก่า ๆ นั้นยากแก่การตรวจสอบ จริง ๆ แล้วผลงานเก่าไม่ได้แปลว่าลิขสิทธิ์หมดอายุแล้วเสมอไป เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิที่จะขาย ย้าย ให้ หรือให้อนุญาตสิทธิที่มีแต่เพียงผู้เดียวอันใดอันหนึ่ง หรือทั้งหมดให้กับคนอื่น จนกระทั่งหมดระยะเวลาการคุ้มครองการจดลิขสิทธิ์และการทำเครื่องหมายในสหรัฐอเมริกา คุณไม่ต้องจดลิขสิทธิ์เพื่อจะได้รับผลประโยชน์จากการคุ้มครองลิขสิทธิ์ แต่คุณอาจต้องจดลิขสิทธิ์ถ้าต้องการฟ้องร้องเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของคุณ คุณไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องหมาย © บนผลงานของคุณ แต่ก็เป็นความคิดที่ดี การที่ไม่มีเครื่องหมาย © ไม่ได้หมายความว่าคุณสามารถลอกผลงานไปใช้ได้ ก่อนได้รับอนุญาตการขายผลงานที่มีลิขสิทธิ์ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ เจ้าของสินค้าที่มีลิขสิทธิ์ สามารถขายสินค้าชิ้นนั้นได้ เช่น ถ้าคุณซื้อดีวีดีภาพยนตร์ คุณสามารถขายดีวีดีแผ่นนั้นได้ การคุ้มครองลิขสิทธิ์ป้องกันคุณไม่ให้ไปก๊อปปี้ดีวีดีภาพยนตร์แล้วนำแผ่นที่ก็อปปี้ไปขายต่อ ถ้าคุณได้ซื้อใบอนุญาตสิทธิในการใช้สินค้าที่มีลิขสิทธิ์ คุณควรตรวจสอบใบอนุญาต และปรึกษาทนายของคุณเพื่อดูว่าคุณสามารถขายได้หรือไม่การขายกับการให้ฟรีการคุ้มครองลิขสิทธิ์รวมไปถึงสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการจัดจำหน่ายผลงานลิขสิทธิ์ นั่นหมายความว่าการให้ผลงานลิขสิทธิ์ที่ก็อปปี้ขึ้นมาโดยไม่ได้รับอนุญาตฟรี ๆ (เช่นวีดีโอที่ก็อปปี้มา) ดังนั้นการขายดินสอที่ราคา $5.00 และ "แถม" ดีวีดีที่ก็อปปี้มาโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการผิดกฎหมายสิทธิในการเปิดเผยต่อสาธารณะในทำนองเดียวกัน การใส่หน้าของใครบางคน รูป ชื่อ หรือลายเซ็นลงในสินค้าที่ขายนั้น เป็นสิ่งต้องห้ามโดยกฎหมาย “Right of Publicity” ของรัฐแคลิฟอร์เนีย และกฎหมายที่เกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวบางอย่าง ดังนั้นการใช้ภาพของคนดังเพื่อการค้า อาจเป็นการละเมิดสิทธิของคนดังคนนั้นถึงแม้ว่าภาพนั้นถ่ายโดยผู้ขายและผู้ขายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ก็ตาม
เบิร์นคอนเวนชั่น?เบิร์นคอนเวนชั่นไม่ได้เป็นกฎหมายของสหรัฐอเมริกา และไม่ได้หมายถึงว่าสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ที่ฝ่าฝืน กฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกา ได้ เบิร์นคอนเวนชั่นเป็นสนธิสัญญาสากลที่สหรัฐอเมริกาเซ็นในปี 1989 โดยการเซ็นสนธิสัญญานี้ สหรัฐอเมริกาให้คำมั่นสัญญาว่าจะแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์บางอย่างของตัวเอง*ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้มีไว้เพื่อเป็นการแนะนำทางกฎหมาย ถ้าคุณมีข้อสงสัยว่าจะขายสินค้าบนอีเบย์ได้หรือไม่ เราแนะนำให้คุณติดต่อเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือปรึกษาทนายความของคุณการฝ่าฝืนนโยบายอาจจะเกิดผลตามมาได้หลายอย่างรวมไปถึง
• การยกเลิกรายการประกาศขายของคุณ
• การจำกัดสิทธิการใช้งานแอคเคานต์ของคุณ
• การระงับใช้งานแอคเคานต์
• ยึดค่าธรรมเนียมรายการประกาศขายที่ถูกยกเลิก
• สูญเสียสถานะ PowerSellerตัวอย่างผู้ขายจะละเมิดการคุ้มครองลิขสิทธิ์ และกฎหมายโดยการกระทำต่อไปนี้:
• ก็อปปี้หนังดีวีดีแล้วนำแผ่นก็อปไปขาย (นอกจากว่าผู้ขายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์)
• เอาหนังสือไปถ่ายเอกสารแล้วนำไปขาย (นอกจากว่าผู้ขายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์)
• เปลี่ยนแปลงและขายภาพวาด หรือรูปถ่ายที่มีลิขสิทธิ์
ความรู้เบื้องต้นกับสิทธิบัตรสิทธิบัตรให้สิทธิแก่นักประดิษฐ์ในการใช้ประโยชน์ของตนในเชิงพาณิชย์ โดยมีช่วงระยะเวลาที่แน่นอน โดยปกติมักกำหนดระยะเวลาคุ้มครองไว้ 20 ปี เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับสิทธินี้ นักประดิษฐ์ต้องเปิดเผยรายละเอียดสิ่งประดิษฐ์เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และประโยชน์สาธารณะ ถ้าปราศจากระบบสิทธิบัตร นักประดิษฐ์จะขาดแรงจูงใจในการคิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เนื่องจากสิ่งที่คิดค้นขึ้นจะถูกเลียนแบบอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ค่าตอบแทนที่ได้รับนั้นน้อยเกินไป สำหรับงานหนักที่นักประดิษฐ์ได้ลงแรงไปการ ประดิษฐ์คิดค้นที่มีสิทธิจดสิทธิบัตรได้นั้น จะต้องเป็นสิ่ง/เรื่องใหม่ ไม่สามารถเห็นเด่นชัด และประยุกต์ใช้เชิงพาณิชย์ได้ และเช่นเดียวกับสิทธิทรัพย์สินทางปัญญารูปแบบอื่นๆ สิทธิบัตรเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคลประเภทหนึ่ง ที่สามารถมอบหมาย อนุญาตให้ใช้สิทธิ หรือเก็บค่าใช้สิทธิได้โดยผ่านการจำนองความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิทธิบัตร
1. สิ่งประดิษฐ์ใดที่สามารถยื่นจดสิทธิบัตรได้
1.1 เป็น การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ คือ เป็นการประดิษฐ์ที่แตกต่างไปจากเดิม ยังไม่เคยมีใช้แพร่หลาย หรือจำหน่ายมาก่อนในประเทศ ยังไม่เคยได้รับสิทธิบัตรมาก่อน หากเคยยื่นขอรับสิทธิบัตรไว้ในต่างประเทศมาก่อนจะต้องยื่นคำขอในประเทศไทย ไม่เกิน 18 เดือน นับแต่วันที่ได้ยื่นไว้ครั้งแรกในประเทศ
1.2 เป็น การประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น คือ มีลักษณะที่เป็นการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคของสิ่งประดิษฐ์ประเภทเดียวกันที่มี มาก่อน หรือไม่เป็นการประดิษฐ์ที่อาจทำได้โดยง่ายต่อผู้ที่มีความรู้ในระดับธรรมดา ในสาขาวิทชาการด้านนั้นๆ
1.3 เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม เกษตรกรรรม พาณิชยกรรม หรือหัตถกรรมได้กรณี ที่ผลงานของท่านเป็นลักษณะของการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม คือเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่มีใช้แพร่หลายในประเทศ ซึ่งรวมถึงการขายด้วย หรือยังไม่เคยเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ ก่อนวันขอรับสิทธบัตร หรือไม่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว
2. สิ่งที่จดสิทธิบัตรไม่ได้ ได้แก่
2.1 จุลชีพ และส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสาร สกัดที่ได้จากสัตว์และพืช เหล่านี้ถือเป็นการค้นพบเท่านั้น แต่ในกรณีที่นำไปผสมกับสารหรือส่วนประกอบอื่น สามารถที่จะขอจดสิทธิบัตรได้
2.2 กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
2.3 ระบบ ข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้รับความคุ้มครองในฐานะที่เป็นงานด้านวรรณกรรมตามกฎหมายลิขสิทธิ์อยู่ แล้ว
2.4 วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์หรือสัตว์ เนื่องจากหากให้ความคุ้มครองไปอาจมีผลกระทบต่อชีวิต คนและสัตว์ได้
2.5 การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี อนามัยหรือสวัสดิภาพของประชาชน
3. เอกสารคำขอสิทธิบัตร ประกอบด้วย
3.1 แบบพิมพ์คำขอรับสิทธิบัตรและเอกสารประกอบคำขอ
3.2 รายละเอียดสิ่งประดิษฐ์
3.3 ข้อถือสิทธิ
3.4 บทสรุปการประดิษฐ์
3.5 รูปเขียน (ถ้ามี)
รายละเอียดการประดิษฐ์ จะประกอบด้วยหัวข้อย่อยต่างๆ ดังนี้
1. ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์
2. ลักษณะและความมุ่งหมายของการประดิษฐ์ - เป็นการอธิบายถึงจุดประสงค์ วิธีการ และลักษณะสำคัญของสิ่งประดิษฐ์นั้น
3. สาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ - ระบุว่าสิ่งประดิษฐ์นั้นจัดอยู่ในเทคโนโลยีประเภทใดหรืออยู่ในศาสตร์แขนงใด
4. ภูมิ หลังของวิทยาการที่เกี่ยวข้อง - เป็นการอ้างอิงเอกสารต่างๆ ที่แสดงถึงวิทยาการที่มีอยู่เดิม ตลอดจนข้อบกพร่อง หรือปัญหาที่นำมาสู่การประดิษฐ์ที่กำลังขอรับสิทธิบัตรอยู่

งานที่ 3 คำสั่งพื้นฐานในระบบปฏิบัติการ Linux / Unix (สั่งวันที่ 12 พ.ย 2552)
คำสั่งพื้นฐานในระบบปฏิบัติการ Linux / Unix

ls
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดงแฟ้มข้อมูล (เช่นเดียวกับ dirของDOS) มากจากคำว่า list
รูปแบบคำสั่ง ls [option] [file]
option ที่มักใช้กันใน ls คือ
-l จะแสดงผลลัพธ์แบบ Long Format ซึ่งจะแสดง Permission ของแฟ้มด้วย
-a จะแสดงแฟ้มข้อมูลทั้งหมด
-F จะแสดง / หลัง Directory และ * หลังแฟ้มข้อมูลที่ execute ได้
ตัวอย่างการใช้งาน ls –l ls -al ls -F

adduser
คำสั่งเพิ่ม User ให้กับระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน adduser -g (group) -d (Directory) (User)
ตัวอย่าง adduser -g root -d /home/user1 user สร้าง User ชื่อ Login คือ user1 เป็นสมาชิกในกลุ่ม root

useradd
คำสั่งเพิ่ม User ให้กับระบบ Unix,Linux (ใช้เหมือนกับคำสั่ง adduser)
รูบแบบการใช้งาน useradd -g (group) -d (Directory) (User)
ตัวอย่าง useradd -g root -d /home/user1 user สร้าง User ชื่อ Login คือ user1 เป็นสมาชิกในกลุ่ม root

userdel
คำสั่งลบ User ออกจากระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน userdel [option] (Username)
ตัวอย่าง userdel -r root user1 ลบ User ชื่อ Login คือ User1 และ -r คือให้ลบ Home Directoryของ User1 ด้วย

passwd
คำสั่งกำหนดและแก้ไขรหัสผ่านของ User ของระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน passwd [Username]
ตัวอย่าง passwd user1 (กำหนดรหัสผ่านให้ User1 ถ้าไม่พิมพ์ ชื่อ User ระบบUnixจะหมายความว่าแก้ไขรหัสผ่านของคนที่Loginเข้ามา)

alias
คำสั่งกำหนดคำสั่งย่อของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่ง SETในDOSแต่สามารถใช้เปฝ้นคำสั่ง RUNได้)
รูบแบบการใช้งาน alias [ชื่อใหม่=ข้อความ]
ตัวอย่าง alias copy=cp กำหนดให้พิมพ์ copy แทนคำสั่ง cpได้

bash
คำสั่งเรียกใช้ Bourne again shellของระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน bash
ตัวอย่าง bash [Enter] ( เรียกใช้ Bourne again shell)

bc
คำสั่งเรียกใช้โปรแกรมคำนวณเลขของระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน bc [-lwsqv] [option] [file]
ตัวอย่าง bc [Enter] 1+2 [Enter] 1^2 [Enter] a=3 [Enter] b=4 [Enter] a*b [Enter] x=2;y=5;x+y[Enter] [Ctrl-d] เพื่อออก
หมายเหตุ:คำสั่งนี้จะใช้ได้ต้องInstall Packet ลงไปก่อน

cp
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับสำเนาแฟ้มข้อมูล (เช่นเดียวกับcopyของDOS) มาจากคำว่า copy
รูปแบบคำสั่ง cp source target
ตัวอย่างการใช้งาน #cp test.txt /home/user1

cal
คำสั่งแสดงปฏิทินของระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน cal
ตัวอย่าง cal [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินเดือน ปัจจุบัน)
cal -y [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินปี ปัจจุบัน)

cat
คำสั่งแสดงข้อความในFileของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งTypeของDOS)
รูบแบบการใช้งาน cat
ตัวอย่าง cat /home/user1 more อ่านข้อมูลจากไฟล์/home/user1ถ้ายาวเกินหน้าให้หยุดทีละหน้าจอ

C Compiler
คำสั่งCompile ภาษาCของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งTypeของDOS)
รูบแบบการใช้งาน cc [filename]
ตัวอย่าง cc /home/user1/industry.c จะสั่งให้ระบบCompile ภาษาC ไฟล์ชื่อ industry.c ที่ Directory /home/user1

cd
คำสั่งChange Directoryของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งCDของDOS)
รูบแบบการใช้งาน cd [directory]
ตัวอย่าง cd /etc [Enter]ไปDirectory etccd ..[Enter] ย้ายไปDirectoryอีก1ชั้น

chfin
คำสั่งChange your finger informationของระบบ Unix,Linux (เป็นการกำหนดข้อมูลของUserเช่น ชื่อเต็ม ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์)
รูบแบบการใช้งาน chfn [username]
ตัวอย่าง chfn User1 กำหนดรายละเอียดUser1

chgrp
คำสั่งChange Groupของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนกลุ่มเจ้าของไฟล์)
รูบแบบการใช้งาน chgrp [-chfRv] (Group) (File)
ตัวอย่าง chgrp root /root/* เปลี่ยนGroupให้กับไฟล์ทุกไฟล์ในไดเรคทอรี่ /root ให้เป็น Group root

chmod
คำสั่งChange Modeของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนสิทธิการเข้าถึงไฟล์)
รูบแบบการใช้งาน chmod [สิทธิ] (File)
ตัวอย่าง กำหนดสิทธิให้กับไฟล์ชื่อtest คือ chmod 754 test หรือ chmod go +r-w testให้กับไฟล์ทุกไฟล์

chmod o-r *
ตัวเลขMode rwx = 7 ; rw - =6 ; r-x =5 ; r- - = 4 ; - wx = 3 ; - w - = 2 ; - - x = 1 ; - - = 0การกำหนดสิทธิกำหนดได้2ลักษณะคือ
1.กำหนดโดยใช้อักษรย่อกลุ่ม
2.ใช้รหัสเลขฐาน2แทนสิทธิ (1 คืออนุญาต)
กลุ่มผู้ใช้ User Group Other = ugo เช่น go-r-w+x คือกลุ่ม และคนอื่นไม่มีสิทธิอ่านเขียนแต่Runได้
สิทธิ์การใช้ -rwx rwx rwx = Read Write Execute
รหัสเลขฐาน 111 101 100 = 754 คือเจ้าของไฟล์ใช้ได้ครบ คน Group เดียวกันอ่านExecuteได้นอกนั้นอ่านได้อย่างเดียว

chown
คำสั่งChange Ownerของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนเจ้าของไฟล์)
รูบแบบการใช้งาน chown [ซื่อเจ้าของไฟล์] (ชื่อFile)
ตัวอย่าง chown user1 filename คือเปลี่ยนเจ้าของไฟล์ชื่อ filename เป็นUser1chown -R user1.root dirname คือเปลี่ยนทั้งเจ้าของไฟล์และกลุ่มไปพร้อมกันทุกไฟล์ใน Sub dirname.

chsh
คำสั่งchshของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนShell ให้ User)
รูบแบบการใช้งาน chsh [Username]
ตัวอย่าง chsh user1 [Enter] /bin/bash [Enter]

clear
คำสั่งclearของระบบ Unix,Linux (เป็นการลบข้อความบนจอภาพ คล้ายกับคำสั่ง clsใน dos)
รูปแบบการใช้งาน clear
ตัวอย่าง clear [Enter]

cal
คำสั่งแสดงปฏิทินของระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน cal
ตัวอย่าง cal [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินเดือน ปัจจุบัน)cal -y [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินปี ปัจจุบัน)

mesg
mesg ดู status การรับการติดต่อของ terminal
mesg y เปิดให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้
mesg n ปิดไม่ให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้date
ใช้แสดง วันที่ และ เวลาตัวอย่าง date 17 May 2004

df
คำสั่งdf ของระบบ Unix,Linux (เป็นการตรวจสอบการใช้พื่นที่บนฮาร์ดดิสก์)
รูบแบบการใช้งานdf [option] [file]
ตัวอย่าง df [Enter]

dmesg
คำสั่งdmesgของระบบ Unix,Linux (เป็นการให้แสดงผลเหมือนตอน Boot)
รูบแบบการใช้งาน dmesg
ตัวอย่าง dmesg more [Enter]
หมายเหตุ คำสั่งนี้ ใช้ตรวจสอบ เมื่อเกิดปัญหา เช่น Linux ไม่รู้จัก Driver CD-Rom หรือปัญหาอื่นๆ

echo
คำสั่งechoของระบบ Unix,Linux (เป็นการให้แสดงข้อความ เหมือนกับ ECHOของDOS)
รูบแบบการใช้งาน echo (ข้อความที่ต้องการให้แสดงผล)
ตัวอย่าง echo my name is user1echo Hello > /dev/tty2 ส่งข้อความ Hello ไปออกจอเทอร์มินอลที่2

ed
คำสั่ง ed ของระบบ Unix,Linux (โปรแกรมแก้ไขข้อความใน Text file เหมือนกับคำสั่ง edlinของDOS)
รูบแบบการใช้งาน ed (fileName)
ตัวอย่าง ed /home/user/test (ออกกดq)สำหรับคนที่ไม่ถนัดคำสั่งนี้แนะนำให้ใช้คำสั่ง picoหรือvi หรือemacsแทนได้เช่นกัน

emacs
คำสั่ง emacs ของระบบ Unix,Linux (โปรแกรมแก้ไขข้อความใน Text file )
รูบแบบการใช้งาน emacs (fileName)
ตัวอย่าง emacs /home/user/test (help กด Ctrl - h ; ออกกด Ctrl - x Ctrl - c)

exit
คำสั่ง exit ของระบบ Unix,Linux (ออกจากระบบยูนิกส์ )
รูบแบบการใช้งาน exit
ตัวอย่าง exit

finger
คำสั่ง finger ของระบบ Unix,Linux (แสดงชื่อUserที่กำลังLoginเข้ามาแต่คำสั่ง Whoจะให้รายละเอียดดีกว่า)
รูบแบบการใช้งาน finger [username]
ตัวอย่าง finger user1 แสดงชื่อและรายละเอียด user1

fsck
คำสั่ง fsck ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่ง ตรวจสอบและซ่อมแซม Linux file system เหมือนกับคำสั่งScandisk ของDos)
รูบแบบการใช้งาน fsck [option]
ตัวอย่าง /sbin/fsck -a /dev/hd1

ftp
คำสั่ง ftp ของระบบ Unix,Linux (เป็นโปรแกรมรับ-ส่งไฟล์ )
รูบแบบการใช้งาน ftp (IP or Name of FTP Server )
ตัวอย่าง ftp 132.209.1.2 [Enter]
Login:anonymous , Password: Username@YourDomain.com
คำสั่งที่เกี่ยวข้อง ls - ดูไฟล์ ; pwd -ดูdir. ที่อยู่ ;cd - เปลี่ยน dir ;lcd - เปลี่ยน local dir ;mput* -ส่งไฟล์ ;mget – รับไฟล์ ;bye - ออก

grep
คำสั่ง grep ของระบบ Unix,Linux (เป็นการสั่งให้ค้นหาตามเงื่อนไข )
รูบแบบการใช้งาน grep (option)
ตัวอย่าง grep -i ftp /etc/test ค้นหาบรรทัดที่มีคำว่า "ftp"ไม่สนใจพิมพ์เล็ก-ใหญ่ จาดไฟล์ /etc/test

groupadd
คำสั่ง groupadd ของระบบ Unix,Linux (เป็นการเพิ่มรายชื่อกลุ่มของ User)
รูบแบบการใช้งาน groupadd (GroupName )
ตัวอย่าง #groupadd staff สร้างกลุ่มของ User ชื่อ Staff เพิ่มให้ระบบ

groupdel
คำสั่ง groupdel ของระบบ Unix,Linux (เป็นการลบรายชื่อกลุ่มของ User)
รูบแบบการใช้งาน groupadd (GroupName )
ตัวอย่าง #groupdel staff ลบกลุ่มของ User ชื่อ Staffออกจากระบบ

gzip/gunzip
คำสั่งgzip/gunzipของระบบ Unix,Linux (เป็นการบีบอัดไฟล์หรือขยายบีบอัดไฟล์)
รูบแบบการใช้งาน gzipหรือgunzip (-cdfhlLnNrtv19 ) [file]
ตัวอย่าง #gzip -9vr /home/samba/* บีบอัดไฟล์ข้อมูลทุกไฟล์ ในSub /home/samba จะเปลี่ยนเป็นนามสุกล .gz#gunzip -dvr /home/samba/* คลายการบีบอัดไฟล์ข้อมูลทุกไฟล์ที่สกุล .gz ในSub /home/samba

halt
คำสั่ง halt ของระบบ Unix,Linux (เป็นการสั่งให้เครื่องหยุดทำงาน)
รูบแบบการใช้งาน halt [-n] [-w] [-d] [-f] [-I] [-p]
ตัวอย่าง #haltคำสั่งที่เกี่ยวข้อง คือ Shutdown ; init0 , reboot

history
คำสั่ง history ของระบบ Unix,Linux (เป็นการดูประวัติการใช้คำสั่งในCommand line คล้ายกับการกดF7ในDOSคือเรียกใช้คำสั่งDos key)
รูบแบบการใช้งานhistory [n] [-r wan [filename] ]
ตัวอย่าง #history 20 ดูคำสั่งที่เพิ่งใช้ไป20คำสั่งที่แล้ว

ifconfig
คำสั่ง history ของระบบ Unix,Linux (เป็นการตรวจสอบกำหนดค่าNetworkของLan Card)
รูบแบบการใช้งาน ifconfig [option]
ตัวอย่าง #ifconfig

ipchains
คำสั่ง ipchains ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับกำหนดควบคุม การรับส่งผ่านข้อมูลของ Firewall)
รูบแบบการใช้งาน ipchains [parameter] command [option]
ตัวอย่าง #ipchains -L ดูสถานะการ Set IPchainsในปัจจุบัน

jobs
คำสั่ง jobs ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับกำหนดควบคุม การรับส่งผ่านข้อมูลของ Firewall)
รูบแบบการใช้งาน jobs
ตัวอย่าง #sleep 20 & jobs

kill
คำสั่ง kill ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับยกเลิก Process)
รูบแบบการใช้งาน kill [option] (process ID)
แทนnnnด้วยหมายเลขPID -9 คือบังคับฆ่าให้ตายUnix,Linux (เป็นคำสั่งการเข้าระบบหรือเปลี่ยน User Login)
รูบแบบการใช้งาน login [fp] (UserName)
ตัวอย่าง #login:root

id
ใช้แสดงชื่อและกลุ่มมของผู้ใช้งาน
ตัวอย่าง id

Link คู่มือการใช้ Ubuntu
http://www.reo09.go.th/reo09/admin/news/file/6.pdf
http://www.ubuntuclub.com/node/951
http://gotoknow.org/post/tag/ubuntu

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น